หัวข้อ   “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก
              6 เดือนข้างหน้า”
               ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงที่ผ่านมาเกิดความขัดแย้งทางความคิดอันนำมาสู่การชุมนุมประท้วงและการ
ใช้ความรุนแรงทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและฝ่ายรัฐบาลที่ต้องการคืนความปกติสุขกลับสู่สังคมโดยเร็ว และหลังการชุมนุมสิ้นสุดลง
รัฐบาลได้ประกาศแผนปรองดองแห่งชาติ พร้อมดึงภาคส่วนต่างๆ ในสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อหวังปฏิรูปประเทศไทย
ในทุกๆ ด้าน ดังนั้น  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความเห็น เรื่อง
ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า” โดยเก็บ
ข้อมูลจากประชาชนในทุกภาคของประเทศจำนวน 1,483 คน เมื่อวันที่ 25 – 27 มิถุนายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

                 ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในด้านต่างๆ เฉลี่ยรวม 3.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม
10 คะแนน โดยมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพด้านเศรษฐกิจมากที่สุด (3.92 คะแนน) รองลงมาคือด้านสังคม (3.58 คะแนน)
ส่วนด้านการเมืองประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (3.20 คะแนน)

                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) กล่าวว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน (มิถุนายน 2552)  ที่มีคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.05
คะแนน พบว่าคะแนนความเชื่อมั่นลดลง 0.48 คะแนน หรือลดลงร้อยละ 13.4

                 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
มีคะแนนต่ำที่สุด คือ 2.17 คะแนน ถัดขึ้นมาคือความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ได้
3.16 คะแนน และความเชื่อมั่นต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้ 3.16 คะแนนเท่ากัน (โปรดพิจารณารายละเอียด
ในตารางที่ 1)

                 เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
มีความเชื่อมั่นว่า  ศักยภาพของประเทศไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะยังคง
เหมือนเดิม

                 สำหรับสิ่งที่ประชาชนมองว่าเป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญที่สุดในการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย 3
อันดับแรก  ได้แก่   การที่คนไทยขาดความรักความสามัคคี/ขัดแย้งกัน/ขาดน้ำใจต่อกัน (ร้อยละ 45.5)  รองลงมาคือ
การทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 14.1) และการมีนักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ/ไม่มีจริยธรรม/ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า
ประโยชน์ส่วนรวม (ร้อยละ 9.9)

                 ทั้งนี้ สิ่งที่ประชาชนตั้งใจจะทำเพื่อมีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย  อันดับแรกคือ ตั้งใจจะทำ
หน้าที่ของพลเมืองให้ดีที่สุด (ร้อยละ 34.6 )   รองลงมาคือ จะรักบ้านเมืองไม่ทำลายบ้านเมือง ไม่ก่อความวุ่นวายหรือ
สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น (ร้อยละ14.8)  และ ตั้งใจว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสรรค์สร้างให้คนไทยรักกัน รักชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย์ (ร้อยละ11.3)

                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน ในด้านต่างๆ

             
(ตารางที่ 1)
ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ
คะแนนความเชื่อมั่น
(เต็ม 10 คะแนน)
1) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ
3.40
2) ด้านฐานะการเงินของประเทศ
3.53
3) ด้านศักยภาพของคนไทย
4.30
4) ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน
4.47
ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม)
3.92
5) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ
3.26
6) ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย
3.30
7) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.61
8) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3.16
ความเชื่อมั่นด้านสังคม (เฉลี่ยรวม)
3.58
9) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
2.17
10) ด้านการปฎิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
3.16
11) ด้านความสามารถในการบริหารประเทศ ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
3.79
12) ด้านคุณภาพของข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชน
3.69
ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม)
3.20
เฉลี่ยรวมทุกด้าน
3.57
 
 
             2. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชน
                 ส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่า ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมจะยังคงเหมือนเดิม ดังนี้


              (ตารางที่ 2)
ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพ
ประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เชื่อว่า
จะดีขึ้น
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะแย่ลง
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะเหมือนเดิม
(ร้อยละ)
1. ด้านเศรษฐกิจ
33.5
15.9
50.6
2. ด้านการเมือง
23.4
23.7
52.9
3. ด้านสังคม
27.8
20.7
51.5
เฉลี่ยรวมทุกด้าน
28.2
20.1
51.7
 
 
             3. สิ่งที่ประชาชนคิดว่าเป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญที่สุดในการพัฒนาศักยภาพโดยรวมของ
                 ประเทศไทย (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ)


 
ร้อยละ
อันดับ 1      ปัญหาคนไทยขาดความรักความสามัคคี/ขัดแย้งกัน/
                 ขาดน้ำใจต่อกัน
45.5
อันดับ 2       ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
14.1
อันดับ 3       ปัญหานักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ/ไม่มีจริยธรรม/ไม่สามัคคี/
                 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม/
                 เล่นพรรคเล่นพวก
9.9
อันดับ 4       รัฐบาลบริหารงานไม่มีคุณภาพ/ขาดความจริงใจ/ไม่สามัคคี/
                 ไม่มีเสถียรภาพ
7.8
อันดับ 5       ตัวคนไทยเองที่ยังไม่พัฒนา/คิดไม่เป็น/ขาดความรู้/เห็นแก่ตัว/
                 ไม่มีคุณธรรม
5.9
อื่นๆ            เช่น ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน ปัญหาการศึกษา
                 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม
                 ปัญหายาเสพติด  เป็นต้น
16.8
 
 
             4. สิ่งที่ประชาชนตั้งใจจะทำเพื่อมีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ)

 
ร้อยละ
อันดับ 1      จะเป็นคนดีทำหน้าที่ของพลเมืองให้ดีที่สุด
34.6
อันดับ 2       จะรักบ้านเมืองไม่ทำลายบ้านเมือง ไม่ก่อความวุ่นวาย
                 หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
14.8
อันดับ 3       จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสรรค์สร้างให้คนไทยรักกัน รักชาติ
                 ศาสนา พระมหากษัตริย์
11.3
อันดับ 4       จะประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ช่วยเหลือ
                 คนในชาติ
7.7
อันดับ 5       จะไปเลือกตั้ง เลือกคนดีมาบริหารประเทศ ส่งเสริม
                 ประชาธิปไตยไทย
7.1
อื่นๆ            เช่น จะใช้หลักพอเพียงในการดำเนินชีวิต ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
                 ตั้งใจทำงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และดูแลครอบครัวให้ดีที่สุด
24.5
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป  ที่อาศัยอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร  และจังหวัดต่างๆ จากทั่วทุกภาคของประเทศ  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling)  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,483 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 47.8  และเพศหญิงร้อยละ 52.2
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 25 - 27 มิถุนายน 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 กรกฎาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
709
47.8
             หญิง
774
52.2
รวม
1,483
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
323
21.8
             26 – 35 ปี
390
26.3
             36 – 45 ปี
403
27.2
             46 ปีขึ้นไป
367
24.7
รวม
1,483
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
826
55.7
             ปริญญาตรี
579
39.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
78
5.2
รวม
1,483
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
188
12.7
             พนักงานบริษัทเอกชน
443
29.9
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
354
23.9
             รับจ้างทั่วไป
211
14.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
109
7.3
             อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
178
12.0
รวม
1,483
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776